วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

Starbucks

การเปลี่ยนแปลงโลโก้จะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร ?
  1. เป็นการเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากเดิมที่เน้นเฉพาะกลุ่มคนทำงาน ซึ่งยังขาดรายได้จากทางกลุ่มของวัยรุ่นที่มีรสนิยมในการบริโภคเครื่องดื่มในเเบรนด์ของสตาร์บัคส์ เช่น ชา อาหาร เป็นต้น
  2. เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรเรื่อยมา การเปลี่ยนแบรนด์ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาเสอม เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงโลโก้  เปรียบเสมือนการพัฒนาขององค์กร ผลิตภัณฑ์  เพื่อให้เข้ากับสังคมเเละตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสมัยใหม่
  3. เป็นการส่งสัญญาณการเเข่งขันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงโลโก้ เเสดงให้เห็นถึงการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการขยายสายผลิตภัณฑ์ เพื่อเเข่งขันในตลาด
  4. ในตลาดระหว่างประเทศแบรนด์ของสตาร์บัคส์ ได้เปรียบในหลายทางเนื่องจากผู้บริโภคคุ้นเคยกับตราสินค้านี้แล้วจนในปีปัจจุบันได้เปลี่ยนโดยใช้รูปนางเงือกสีเขียวอย่างเดียวโดยไม่มีตัวหนังสือแต่ผู้บริโภคก็คงยังรู้ว่านี้คือสตาร์บัคส์


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างประเทศ (Fuji/Mk)

ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ มากกว่า 1 กลยุทธ์
1. กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขาย เราจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ระหว่างกลยุทธ์การสร้างตลาด และกลยุทธ์แย่งส่วนครองตลาด จากคู่แข่งขัน

2. กลยุทธ์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และกลยุทธ์เฉพาะท้องถิ่น (National, Regional and Local Marketing Strategies) กลยุทธ์นี้จะช่วยให้กิจการตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์การตลาดระดับต่างๆ หรือจะใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น

3. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies) กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย

4. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies) เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันของเรา

5. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies) การกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง ต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร

6. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategies) จะมีการพิจารณากลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ กลยุทธ์ทางการขยายสายผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การเลิกผลิตภัณฑ์หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ การใช้กลยุทธ์เพื่อฟื้นผลิตภัณฑ์ หรือยืดอายุของสายผลิตภัณฑ์

7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies) ธุรกิจต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์ของตัวสินค้า

8. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategies) การตัดสินใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนามาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่

9. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่

10. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies) การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ ต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่าย

11. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง

12. กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies) กลยุทธ์นี้จะบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายทางการตลาดว่า มีการใช้อย่างไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอะไรบ้าง ต้องการเพิ่มยอดขายตรายี่ห้อ ยอดขายของร้านค้าหรือยอดขายในเขตการขาย หรือใช้จ่ายไปเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ๆ ให้มาลองใช้ การพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวม จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนนั้น สอดคล้องกับตัวเลขค่าใช้จ่ายในอดีตอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยเหตุผลอะไร รายละเอียดของค่าใช้จ่ายและงบประมาณจะปรากฎอยู่ในส่วนงบประมาณของแผนการตลาด

13. กลยุทธ์การใช้พนักงานขายและการปฏิบัติการของพนักงานขาย (Personal Selling / Operation Strategies) เมื่อพิจารณาว่าโครงสร้างการขายและการบริหารงานขายมีความเหมาะสมมากเพียงต่อแผนการตลาด

14. กลยุทธ์ข่าวสารที่สื่อทางโฆษณา (Advertising Message Strategies) นักการตลาดต้องทราบถึงจุดเน้นที่จะส่งข่าวสารไปยังผู้บริโภค และจะใช้โฆษณาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอย่างไร

15. กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา การเลือกสื่อโฆษณามีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เช่น กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์คู่แข่งขัน และกลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด


17. กลยุทธ์การให้ข่าวสาร (Publicity) เราต้องพิจารณาว่าการสื่อข่าวสารและการประชาสัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นต่อกิจการของเราหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องจำเป็นควรกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าวในแผนการตลาดด้วย

18. กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development ธุรกิจต่างๆ ล้วนต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน

19. กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies) ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย


ข้อมูลจาก : www.smile-sme.com
กล่าวโดยสรุป เมื่อถึงขั้นตอนนี้เราจะต้อง ทบทวนปัญหาและโอกาสทางการตลาด ทบทวนวัตถุประสงค์ทางการตลาดที่กำหนดไว้ พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
16. กลยุทธ์การบริหารและการจัดการสินค้า (Merchandising Strategies) กลยุทธ์นี้จะกล่าวถึงการกำหนดรูปแบบและการจัดการของสถานที่และจุดที่แสดงสินค้า, แผ่นพับโฆษณา, เอกสารการขาย, บุคลากร ณ จุดขาย การจัดงานต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งออกข้าว

      
ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวจีน คือ ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมดของจีน (ประมาณ 1,278 ล้านคน) บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก  ทำให้จีนเป็นตลาดข้าวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไทยรวมทั้งประเทศผู้ส่งออกข้าวอื่นๆต่างพยายามหาทางส่งออกข้าวไปยังจีน  แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2543) จีนสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ทำให้ความต้องการนำเข้าข้าวลดลง (ดังตารางที่ 6) อีกทั้งสต็อกข้าวเพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศจีนมีปริมาณอยู่ระหว่าง 85,000-100,000 ตันโดยเฉลี่ย  โดยในปี 2542 และ 2543 จีนมีข้าวในสต็อก 98.5 และ 92.24 ล้านตันตามลำดับและสต็อกข้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเป็น 90 ล้านตันในปี 2544 (ซึ่งคิดเป็นปริมาณการบริโภคข้าวประมาณ 1 ปี หรือเป็นการเก็บสต็อกประมาณร้อยละ 2 ของข้าวที่ผลิตได้ทุกปี)  ทั้งนี้เนื่องจากในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จีนมีการผลิตข้าวลดลง โดยเฉพาะข้าวต้นฤดู (early rice) ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ     โดยข้าวส่วนใหญ่ในสต็อกเป็นข้าวคุณภาพต่ำ  เนื่องจากข้าวที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นข้าวคุณภาพต่ำซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของคนในประเทศ เนื่องจากมีรายได้สูงขึ้น จึงมีการนำเข้าข้าวคุณภาพสูง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิของไทยมากขึ้น

วิเคราะห์ SWOT
Strength จุดแข็ง :             1. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมานานกว่า 20 ปี มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกราว1 ใน 3 ของปริมาณส่งออกข้าวทั่วโลก
                                                2. ข้าวไทยโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ได้รับการยอมรับว่าเป็นข้าวคุณภาพดี
3. ไทยสามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง จึงมีผลผลิตออกสู้ตลาดอย่างต่อเนื่อง
4. มีเทคนิคการสีและปรับปรุงคุณภาพข้าวที่ดี ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของลูกค้า อีกทั้งสามารถส่งมอบสินค้าได้ตรงตามเวลาและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
Weakness ข้อเสีย :            1. ไทยมีผลผลิตข้าวต่อไร่ต่ำเกือบที่สุดในโลก และมีต้นทุนการผลิตสูง
2. การพัฒนาพันธุ์ข้าว กระบวนการเพาะปลูก และระบบชลประทานของไทยพัฒนาได้ไม่ดีเท่าทีควร
3. ผู้ส่งออกข้าวไทยมีอำนาจต่อรองน้อยและไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคา เนื่องจากมีคู่แข่งจำนวนมาก
4. ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมปทุมธานี 1 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก และสามารถทดแทนกันได้ดี จึงแข่งขันกันเองในการทำตลาด
Opportunity โอกาส :      1. ประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกาซึ่งบริโถคข้าวเป็นหลักมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวเป็นหลัก
2. ภูมิอากาศที่แปรปรวน ทั้งภาวะภัยแล้ง การเกิดอุทกภัย พายุ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคและแมลงอาจส่งผลให้ผลผลิตข้าวในหลายประเทศลดลงจนผลักดันให้ความต้องการนำเข้าและราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น
Threat อุปสรรค :              1. คู่แข่งเช่น สหรัฐฯ และเวียดนาม พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวไทยแต่มีราคาถูกกว่า
2. คู่แข่งส่งออกข้าวรายใหม่ อาทิ พม่า กัมพูชา ต่างเร่งการขยายการส่งออกข้าว
3. ภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยแย่ลง เพราะคู่แข่งบางประเทศนำข้าวชนิดอื่นมาปลอมปน รวมถึงคู่แข่งบางประเทศเลียนแบบตราสินค้าของไทย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่งประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
การตลาดระหว่างประเทศ(International Marketing)
 หมายถึง การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศและการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าซะส่วนใหญ่เนื่องจากประเทศของตนไม่มีทรัพยากรดังกล่าวก็จะเอาสินคาของประเทศตนไปแลกสินค้าอีกประเทศหนึ่ง ส่วนการตลาดระหว่างระหว่างประเทศนั้นมุ่งไปที่การสร้างมูลค่าสินค้า โดยหาตลาดใหม่ และขยายตัวสินค้าเพื่อสนองความต้องการ

วัฒนธรรมประเทศจีน

อาหารจีน
อาหารที่ประกอบขึ้นตามวัฒนธรรมของชาวจีน รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวันและ ฮ่องกง มีหลายชนิดตามท้องถิ่น โดยนิยมรับประทานอาหารจานผักและธัญพืชเป็นหลัก นอกจากในราชสำนักที่จะมีอาหารประเภทเนื้อ อาหารที่รู้จักกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ติ่มซำ หูฉลาม กระเพาะปลา วัฒนธรรมการกินเป็นการกินร่วมกันโดยอุปกรณ์การกินหลัก คือตะเกียบ มีอุปกรณ์การทำหลักๆเพียงสี่อย่างคือ มีด เขียง กระทะก้นกลม และตะหลิว มีอาหารจีน 2 ตระกูลใหญ่ คือ อาหารเมืองเหนือ และเมืองใต้ และได้มีการแบ่งอาหารเป็น 8 ตระกูลใหญ่ ได้แก่
อาหารซันตง (鲁菜-หลู่ไช่)                        อาหารเจียงซู (苏菜-ซูไช่)
อาหารกวางตุ้ง (粤菜-เย่ว์ไช่)                     อาหารเสฉวน (川菜-ชวนไช่)
อาหารอันฮุย (徽菜-ฮุยไช่)                          อาหารฮกเกี้ยน (闽菜-หมิ่นไช่)
อาหารหูหนัน (湘菜-เซียงไช่)                   อาหารเจ้อเจียง (浙菜-เจ้อไช่)
บางแหล่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆตามมณฑลต่างๆ ได้อีกเช่น
อาหารปักกิ่ง                         อาหารซัวเถา
อาหารชานตง                      อาหารเซี่ยงไฮ้
อาหารจีนแต้จิ๋ว                    อาหารจีนแคะ หรือจีนฮากกา
ประเพณีจีน
วันสารทจีน เทศกาลสารทจีนตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้

เทศกาลเช็งเม้ง  เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 - 20 เมษายน สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลักแล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) เป็นประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย(แต้จิ๋ว) หรือ บ่องซุ่ย(ฮกเกี้ยน) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ
เทศกาลกินเจ  ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะรีออในอินโดนีเซีย
จุดประสงค์ของการกินเจ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
-                   กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ
-                   กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้นซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา
-                   กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเราสั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหารเจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น
ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า ฉูซี่ หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืนในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" หรือ ภาษาฮกเกี้ยน "ก้าม" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า อิมกัง ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ
การเผากระดาษการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เซ่นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ “เหี่ยม” หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผาเมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลาเป็นการเสร็จพิธี