วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่งออกข้าว

      
ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวจีน คือ ประมาณ 60% ของประชากรทั้งหมดของจีน (ประมาณ 1,278 ล้านคน) บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก  ทำให้จีนเป็นตลาดข้าวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งไทยรวมทั้งประเทศผู้ส่งออกข้าวอื่นๆต่างพยายามหาทางส่งออกข้าวไปยังจีน  แต่อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2543) จีนสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ทำให้ความต้องการนำเข้าข้าวลดลง (ดังตารางที่ 6) อีกทั้งสต็อกข้าวเพื่อสำรองไว้ใช้ในประเทศจีนมีปริมาณอยู่ระหว่าง 85,000-100,000 ตันโดยเฉลี่ย  โดยในปี 2542 และ 2543 จีนมีข้าวในสต็อก 98.5 และ 92.24 ล้านตันตามลำดับและสต็อกข้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเป็น 90 ล้านตันในปี 2544 (ซึ่งคิดเป็นปริมาณการบริโภคข้าวประมาณ 1 ปี หรือเป็นการเก็บสต็อกประมาณร้อยละ 2 ของข้าวที่ผลิตได้ทุกปี)  ทั้งนี้เนื่องจากในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จีนมีการผลิตข้าวลดลง โดยเฉพาะข้าวต้นฤดู (early rice) ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ     โดยข้าวส่วนใหญ่ในสต็อกเป็นข้าวคุณภาพต่ำ  เนื่องจากข้าวที่ผลิตได้ในประเทศส่วนใหญ่เป็นข้าวคุณภาพต่ำซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของคนในประเทศ เนื่องจากมีรายได้สูงขึ้น จึงมีการนำเข้าข้าวคุณภาพสูง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิของไทยมากขึ้น

วิเคราะห์ SWOT
Strength จุดแข็ง :             1. ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกมานานกว่า 20 ปี มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกราว1 ใน 3 ของปริมาณส่งออกข้าวทั่วโลก
                                                2. ข้าวไทยโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ได้รับการยอมรับว่าเป็นข้าวคุณภาพดี
3. ไทยสามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี ทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง จึงมีผลผลิตออกสู้ตลาดอย่างต่อเนื่อง
4. มีเทคนิคการสีและปรับปรุงคุณภาพข้าวที่ดี ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของลูกค้า อีกทั้งสามารถส่งมอบสินค้าได้ตรงตามเวลาและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
Weakness ข้อเสีย :            1. ไทยมีผลผลิตข้าวต่อไร่ต่ำเกือบที่สุดในโลก และมีต้นทุนการผลิตสูง
2. การพัฒนาพันธุ์ข้าว กระบวนการเพาะปลูก และระบบชลประทานของไทยพัฒนาได้ไม่ดีเท่าทีควร
3. ผู้ส่งออกข้าวไทยมีอำนาจต่อรองน้อยและไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคา เนื่องจากมีคู่แข่งจำนวนมาก
4. ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมปทุมธานี 1 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก และสามารถทดแทนกันได้ดี จึงแข่งขันกันเองในการทำตลาด
Opportunity โอกาส :      1. ประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกาซึ่งบริโถคข้าวเป็นหลักมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ยังไม่สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวเป็นหลัก
2. ภูมิอากาศที่แปรปรวน ทั้งภาวะภัยแล้ง การเกิดอุทกภัย พายุ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคและแมลงอาจส่งผลให้ผลผลิตข้าวในหลายประเทศลดลงจนผลักดันให้ความต้องการนำเข้าและราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น
Threat อุปสรรค :              1. คู่แข่งเช่น สหรัฐฯ และเวียดนาม พัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวไทยแต่มีราคาถูกกว่า
2. คู่แข่งส่งออกข้าวรายใหม่ อาทิ พม่า กัมพูชา ต่างเร่งการขยายการส่งออกข้าว
3. ภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยแย่ลง เพราะคู่แข่งบางประเทศนำข้าวชนิดอื่นมาปลอมปน รวมถึงคู่แข่งบางประเทศเลียนแบบตราสินค้าของไทย

2 ความคิดเห็น: